วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บริหารต้นทุนอาหาร -Byโปรแกรมร้านอาหาร Tasty Restaurant


การบริหารต้นทุนอาหาร (Food cost)

ในการธุรกิจใดๆก็ตาม จะต้องกระทำให้เกิดกำไรอย่างสูงสุด ถ้าหน่วยงานองค์กรณ์ใดๆ ที่ทำหรือไม่แสวงผลกำไร (Non Profit Organization) ก็คงจะเป็นมูลนิธิ หรือสมาคม เพราะฉะนั้นก็คือการลงทุนที่หวังผลกำไร
หลักการของการคิดราคาขายและกำไรง่ายๆก็คือ
ต้นทุน + กำไร = ราคาขาย
ดัง นั้น ในแต่ละองค์กร จะกำไรมากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการบริหารลักษณะของกิจการแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นถ้าเราต้องการกำไรที่มาก หรือกำไรที่สูงที่สุด เราก็จะต้องมีวิธีการจัดการบริหารต้นทุนที่ดี
ประเภทของต้นทุน มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
FIXED COST
VARIABLE COST
Fixed Cost หรือต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนที่จะต้องจ่ายตลอด ไม่ว่าจะขายได้มาก หรือขายได้น้อยก็ตาม ต้นทุนประเภทนี้จะเป็นต้นทุนด้านบริหารองค์กร เช่น เงินเดือนฝ่ายบริการ พนักงาน สวัสดิการ ภาษี คาเช่า ค่าประกัน ค่าเสื่อม ฯลฯ เป็นต้น
Variable Cost หรือต้นทุนแปรผัน ส่วน นี้จะเป็นต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับยอดขาย สัดส่วนของต้นทุนจะสูงก็ต่อเมื่อยอดขายสูงและเปลี่ยนแปลงตามสภาพกันไป ซึ่งโดยหลักของต้นทุนประเภทนี้ ในโรงแรมก็จะมีที่เราเรียกว่า Cost of Sale หรือต้นทุนขาย ซึ่งมีอยู่ 2 ตัว
  • Food cost ต้นทุนอาหาร
  • Beverage cost ต้นทุนเครื่องดื่ม
ในต้นทุนทั้งส่วนนี้ โรงแรมจะให้ความสำคัญกับ Food cost มากกว่า Beverage cost เนื่องด้วยรายได้ของอาหารจะมากกว่า เครื่องดื่ม (อัตราส่วนเฉลี่ยประมาณ 70 : 30) ดังนั้นการบริหารต้นทุนของอาหารจึงสำคัญมาก
โดยทั่วไปโรงแรมมักจะตั้งมาตรฐานของ Food cost อยู่ที่ระหว่าง 33% -40% และ Beverage cost อยู่ที่ระหว่าง 25%-30% ซึ่ง ขึ้นอยู่กับมาตรฐานลักษณะของโรงแรม ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัตถุดิบที่มาใช้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่ม บางโรงแรมที่มีมาตรฐานสูงและใช้ของราคาแพง อาจจะมีต้นทุนที่สูงมากในขณะเดียวกันในอีกโรงแรมซึ่งมีมาตรฐานต่ำกว่า และใช้ของที่เป็นของท้องถิ่น ราคามไม่สูงมาก ก็จะทำให้ต้นทุนต่ำกว่าอีกโรงแรมซึ่งการบริหารต้นทุนนี้จะเป็นหน้าที่หลัก ของ Executive chef ในแต่ละโรงแรมที่จะต้องควบคุมต้นทนอาหารในแต่ละวัน
หลักการคิดต้นทุนง่ายๆ
โจทย์ ข้าวผัดกุ้ง 1 จาน ราคาขายอยู่ที่ 120 บาท จงหาต้นทุนของอาหาร
เราจะต้องมีการจัดการทำ Recipe ขึ้น มาเพื่อแจกแจงรายละเอียดวัตถุดิบและวิธีการประกอบการ และเมื่อแจกแจงรายละเอียดวัตถุดิบแล้ว เราจะต้องหาต้นทุนวัตถุดิบแต่ละตัว หรือมาสรุปว่า ของที่นำมาประกอบทำเป็น ข้าวผัดกุ้ง 1 จาน นั้น รวมแล้วเป็นเท่าไหร่ ดังตารางต่อไปนี้


จากตารางด้านบนเราจะเห็นว่าใน Recipe ได้ แจกแจงรายละเอียดของส่วนผสม ส่วนประกอบ เครื่องปรุงของอาหารในจานไว้ ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องมาคำนวนออกมาเป็นราคาต่อหน่วยของแต่ละชนิด แต่จะเห็นว่าในส่วนที่เป็นเครื่องปรุงเช่น เกลือ น้ำตาล น้ำมัน ฯลฯ (รายการที่ 8-11) เหล่านี้ มักจะไม่นำมาจำแนกเนื่องจากเป็นหน่วยที่เล็กมาก แต่มักจะใช้วิธีคิดคำนวนเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น 5% - 10 % แล้ว แต่มาตรฐาน โดยนำไปรวมกับผลรวม ของส่วนผสม หลังจากนั้นจึงนำราคาต้นทุนรวมทั้งหมด ไปคิดเป็นต้นทุนเปอร์เซ็นต์ โดยวิธีคิดคำนวน เป็นสมการดังนี้
ต้นทุนอาหาร คูณด้วย 100 แล้วหารด้วยราคาขาย = ต้นทุน %
เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าต้นทุนของข้าวผัดที่ขาย 120 บาท นั้น มีต้นทุนอยู่ที่ 19.72%
ตัวอย่างสูตรที่นำไปใช้ในการคิดคำนวณต้นทุน เช่น
เมื่อต้องการทราบว่า อาหาร และ เครื่องดื่ม ที่เราขายอยู่นั้น มีต้นทุน % อยู่เท่าไหร่ ใช้สูตร
ต้นทุนอาหาร คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ยอดขายอาหาร  = % ของต้นทุนอาหาร
ต้นทุนเครื่องดื่ม คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ยอดขายเครื่องดื่ม = % ของต้นทุนเครื่องดื่ม
สมมุติว่าร้านอาหารให้ต้นทุนในการผลิต 96,687 บาท และมียอดขาย 276,250 บาท ฉะนั้นร้านอาหารจะมีต้นทุน % ต้นทุนอาหารเท่ากับ 34.99% โดยอาศัยการคำนวณคือ
    96,687 X 100 = 34.99%
    276,250
หมายถึง รายได้ทุกๆ 1 บาท ใช้ทุน 35 สตางค์ หรือต้นทุนอาหารทุก 1 บาท เท่ากับ 35 สตางค์
จากสูตรเดียวกันนี้ เราสามารถปรับเปลี่ยนสูตรตามหลักการคำนวณ คือ
ถ้าเราทำต้นทุนของอาหารแล้ว และกำหนด % ของต้นทุนไว้แล้ว และต้องการตั้งราคาขาย ก็สามารถใช้สูตร
   ต้นทุน   =   ราคาขาย (ยอดขาย)
  % ของต้นทุน


และถ้าเรากำหนดราคาขาย พร้อมกับกำหนด % ของต้นทุนไว้แล้ว และต้องการทราบว่าจะต้องควบคุมต้นทุนของวัตถุดิบอยู่ในจำนวนเงินเท่าใด ก็ใช้สูตรนี้
   ราคาขาย (ยอดขาย) X เปอร์เซ็นต์ (%) ของต้นทุน =  ต้นทุน
สูตรนี้จะเป็นสูตรที่แนะนำ ให้ใช้เวลาที่เรามีงานจัดเลี้ยง ที่เราจะทราบจำนวนแขก และราคาต่อหัวที่แน่นอน ซึ่งเราจะทราบรายได้ที่ชัดเจน และในขณะเดียวกันเราก็ทราบถึง % ต้นทุนอาหารที่ต้องปฏิบัติ เราก็จะทราบว่าของวัตถุดิบที่จะต้องจัดเตรียมควรเป็นเท่าใด
ยกตัวอย่าง เช่นมีงานเลี้ยงอาหารค่ำแขก 200 คนๆละ 500 บาท ฉะนั้นจะมีรายได้ 10,000 บาท และเราต้องการควบคุม % ต้นทุนอาหารไม่ให้เกิน 25% ก็อาศัยการคำนวณดังนี้
รายได้ 10,000 X ต้นทุน 25% = 2,500 บาท
ดั้งนั้นเราจะรู้ว่าควรสั่งซื้อวัตถุดิบ หรือเบิกของจากสโตร์ ไม่ควรเกิน 2,500 บาท




RECIPE
เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทำอาหารมืออาชีพทุกคน เพราะใน Recipe จะบอกรายละเอียดทั้งหมดของการประกอบอาหารขึ้นมา 1 ชนิด ดังนั้นมาตรฐานของ Recipe จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆดังนี้
  • ชื่อของอาหาร
  • รหัสของ Recipe
  • รูปภาพที่จะทำให้ผู้ปรุงอาหารชนิดนั้นๆ ได้เห็นถึงหน้าตา และการจัดการ รวมถึงภาชนะที่ใส่
  • ส่วนผสมและเครื่องปรุง
  • จำนวนหน่วยที่จะบ่งบอกถึงจำนวนหน่วย ชนิดของหน่วย กรัม ขีด กิโลกรัม ช้อนชา ช้อนโต๊ะ ฟอง ฯลฯ
  • วิธีการประกอบที่จะบ่งบอกขั้นตอนวิธีการปรุง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงลงจานพร้อมบริการ
  • ต้นทุนที่จะแยกแยะ ราคาวัตถุดิบต่อหน่วย
Recipe จะ เป็นตัวบ่งบอกต้นทุนของอาหารแต่ละชนิด ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการควบคุมต้นทุน เพราะอาหารแต่ละชนิดจะมีต้นทุนที่แตกต่างกันไป อาจจะมีผลต่อการตั้งราคาของอาหารชนิดนั้นๆ เพราะการตั้งราคาขายมิได้อิงอยู่กับต้นทุนอาหารเดียวกันเสมอ ราคาอาหารอาจถูกกำหนดขึ้นจากต้นทุน และความเหมะสมของลักษณะระดับและประเภทของร้านอาหาร และลูกค้าด้วย อาหารบางชนิดอาจจจะจำเป็นต้องมีต้นทุนที่สูง เพราะเป็นอาหารที่เป็นที่รู้จักและต้องมีประจำห้องอาหาร เช่นหูฉลามที่มีต้นทุนที่สูงมาก (กิโลกรัมละ 6,000 บาท) ซึ่งต้องมีประจำในการรายการอาหารของห้องอาหารจีน แต่เราก็อาจจะได้อาหารชนิดอื่นเข้ามาช่วยเฉลี่ย ให้ต้นทุนต่ำลง เช่น ผัดผัก ซึ่งหลักการประเภทนี้ จะอยู่ในการวิเคราะห์ในอีกลักษณะหนึ่งที่เราเรียกว่า MENU ENGINEERING ที่มีการหาต้นทุน ยอดขายของอาหารแต่ละชนิดมาจัดกลุ่ม (Rate) ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆคือ
  • STAR หรือบางครั้งเรียกว่า WINNER เป็นอาหารของที่นิยมมากของลูกค้า และมีต้นทุนต่ำ กำไรสูง อาหารนี้จะต้องอยู่ในรายการพิเศษ หรือรายการแนะนำห้องอาหารนั้นๆ
  • PLOW HORSE หรือบางครั้งเรียกว่า RUNNER เป็นอาหารที่ขายดีในรายการอาหาร แต่มีต้นทุนสูง กำไรน้อย
  • PUZZLES หรือบางครั้งเรียกว่า SLEEPER เป็นรายการอาหารที่ต้นทุนต่ำ กำไรดี แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม และขายยาก
  • DOGS หรือบางครั้งเรียกว่า LOSER เป็นรายการอาหารที่กำไรน้อย อีกทั้งยังขายไม่ดี
อย่างไรก็ตาม เมื่อเรารู้จักวิธีการคิดต้นทุนของอาหารพื้นฐานจากเบื้องต้นแล้ว สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก็คือWASTE COST เพราะ หลักการที่โดยทั่วๆไป เวลาคิดต้นทุนคือ มักจะนำเอาราคาที่ซื้อจากตลาดหรือร้านค้า โดยเฉพาะของสดจำพวกผัก เนื้อสัตว์ต่างๆ มักคิดคำนวนโดยตรง ซึ่งมักจะมองข้ามเรื่อง Waste ยก ตัวอย่างเช่น ผักกาดแก้วที่ซื้อมาจากตลาด 1 กิโลกรัม หรือ 1000 กรัม มูลค่า 55 บาท เมื่อนำเข้าสู่ครัว ที่ต้องมีการเด็ดใบที่ช้ำ ขาด เน่าออก ซึ่งอาจจะถูกตัดออกไปอีกประมาณ 100 กรัม ซึ่งมูลค่าของ 55 บาท ที่ซื้อมา จากต้นทาง ก็จะได้ผักกาดแก้วที่นำไปบริการที่ 900 กรัม และเมื่อเรานำมาคำนวนกลับก็จะกลับเป็นว่า ผักกาดแก้ว มีต้นทุนที่แท้จริงคือ 61.11 บาท ซึ่งถ้าเราวางต้นทุนของอาหารโดยมองข้ามสิ่งเล็กน้อยไป ในหลายรายการอาหารที่มีอยู่ ก็จะมีผลให้ต้นทุนที่เราควบคุมนั้นผิดพลาดไปได้ และก็จะทำให้เราสามารถคิดในอีกทางหนึ่งว่าของที่เราสูญเสียต่างๆนั้น มาจากสาเหตุใด ถ้าของที่รับมามักจะมี Wasteมาก เราก็จะได้พิจารณาให้ทางร้านปรับปรุงให้ลดความสูญสียน้อยลง เพื่อคุ้มค่าแก่เงินที่เราจ่ายไป และในภายในครัวเราก็จะสามารถพิจารณาว่าพวก waste เหล่านี้จะสามารถนำไปใช้ส่วนอื่น อาทิเช่น แปรรูป หรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างไร
จากรายละเอียดขั้นต้น เราก็คงจะทราบและเข้าใจถึงการคำนวนต้นทุนของอาหารแต่ละชนิด ที่จะมีส่วนในการมองเห็นภาพใหญ่ ภายในรายการอาหารทั้งหมด แต่นี้เป็นเพียงวิธีการควบคุมในเบื้องต้นเท่านั้น
หลักการคิดคำนวนต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรม ไม่ได้นำเอารายการอาหารของแต่ละตัว และต้นทุนอาหารแต่ละตัว มาคิดคำนวน แต่จะใช้วิธีการคิดคำนวนจากภาพใหญ่ คือนำเอารายได้ของอาหาร มาคิดคำนวนกับของที่สั่งซื้อจากตลาด MARKET LIST รวมกับของที่เบิกจากสโตร์ STORE REQUISITIONในแต่ละวัน และจัดทำเป็น DAILY COST โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของปฏิทินไปเรื่อยๆ เช่น
  • วันที่ 1 รายได้ 120,000 บาท ซื้อของจากตลาดและเบิกของจากสโตร์ 60,000 บาท ฉะนั้นDaily cost ของวันที่ 1 จะเป็น 50%
  • และพอวันต่อมาและวันต่อไป ก็จะคำนวนรายได้รวมตั้งแต่วันแรกของปฏิทิน ที่เรียกว่าMONTH TO DATE – MTD. เพราะฉะนั้นถ้าถึงวันที่ 15 รายได้ MTD อยู่ที่ 1,650,000.- ซื้อของตลาดและเบิกของสโตร์ MTD 580,000 เราก็จะมี DAILY COST – MTD อยู่ที่ 35.15%
  • ดังนั้น เราควรจะระมัดระวัง และต้องเริ่มดู Daily Cost ว่า อยู่ในเกณฑ์ควบคุมหรือไม่ เมื่อเริ่มเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ของปฏิทิน ซึ่งถ้าพบว่าสูง ก็อาจจะเริ่มดูว่ารายได้อนาคตจะสูงขึ้น หรือต่ำลง ถ้าต่ำลงก็ต้องสั่งของและเบิกของให้น้อยลง และตรวจตราว่าในห้องเก็บของ ตู้แช่ ห้องเย็น ห้องแช่ของต่าง มีของสต๊อกมากเพียงใด และการหมุนเวียนของที่สต๊อกเป็นอย่างไร อย่าลืมว่าของเก็บไว้นาน มีโอกาสเสีย และอย่างไรก็สู้ของสดไม่ได้แน่นอน
  • และจะคิดคำนวน MTD ไปเรื่อยๆ จึงถึงวันสิ้นเดือนปฏิทิน ทางฝ่ายควบคุมต้นทุน ก็จะมีการตรวจนับของคงคลัง (Inventory) เข้าตรวจเช็คยอดคงค้างของครัวว่ามีมูลค่าเท่าใด ซึ่งจะนำยอดนี้ไปหักล้าง กับยอด MTD สั่งซื้อของและเบิกสโตร์ และยอดนี้จะเรียกว่า Closing Inventory เพิ่อนำไปคิดคำนวนต่อไปในเรื่องของ Cost board
บทสรุป
เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าการบริหารต้นทุนจริงแล้ว มีขั้นตอนที่ซับซ้อนอยู่มากมาย เพียงแต่ถ้าเข้าใจที่มาของต้นทุน การคิดคำนวน การควบคุม ก็จะเห็นว่าไม่ได้ยากเกินไป ถ้าเราเริ่มได้ดี โดยจัดทำ Recipe ของ รายการอาหารในทุกเมนู เราก็จะมองเห็นว่าต้นทุนในแต่ละรายการอาหาร แต่ละตัวควรจะเป็นเท่าใด และเมื่อเวลาปฏิบัติเราก็ต้องคอยดูรายได้ และพยากรณ์รายได้ที่อ้างอิงจากตัวเลขของลูกค้าภายในโรงแรมอันจะทำให้เรา สามารถควบคุมการสั่งซื้อของจากตลาด และการเบิกของจากสโตร์ในแต่ละวัน และถ้าเราสามารถเข้าไปดูในรายละเอียดมากขึ้น ในรายละเอียดของที่สูญเสีย (Waste) และ ทำให้ของสูญเสียน้อยที่สุด เพื่อคุ้มค่าเงินที่จ่ายไป และเมื่อเราได้รับรายงานต้นทุนแต่ละวัน เราก็จะสามารถควบคุมตัวเลขต้นทุนให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ตามนโยบายของโรงแรม แต่จะต้องพึงคำนึงถึงเสมอว่าจะต้องไม่กระทบกับการบริการแก่ลูกค้า จะกลายเป็นได้ไม่เท่าเสีย

       หากท่านต้องการระบบจัดการร้านอาหารเพื่อบริหารร้านอาหารอย่างมีประสิทธิภาพแนะนำโปรแกรมร้านอาหาร Tasty Restaurant ระบบร้านอาหารที่จะช่วยให้การบริหารร้านอาหารเป็นเรื่องง่ายไม่ต้องปวดหัวกับบัญชีร้านอาหาร พอสิ้นวันต้องมานั่งคำนวณยอดขายเอง เพราะโปรแกรมร้านอาหาร Tasty Restaurant มีระบบบัญชีรายรับรายจ่ายร้านอาหาร มีระบบสั่งอาหาร เป็นโปรแกรมคิดเงินร้านอาหาร pos ที่ดีกว่าเครื่องคิดเงินเพราะคุณสามารถกำหนดข้อมูลได้เอง แบ่งหมวดหมู่อาหาร ระบุส่วนผสมแต่ละเมนู มีระบบสต็อกรับสินค้าเข้าและขายออก ดูยอดสินค้าคงเหลือ มีบิลร้านอาหารที่สามารถออกแบบเองได้มีรายงานสรุปหลากหลายเงื่อนไข เป็นระบบบัญชีร้านอาหารขนาดย่อมที่ผู้ไม่มีความรู้ก็สามารถใช้งานได้ เป้นได้ทั้งระบบร้านกาแฟและโปรแกรมร้านอาหาร ที่ทำให้การบริหารจัดการร้านอาหารไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 099-4146540 , 099-4544650
Line id : pangeline,blissfulpluem
Website:www.qsofttech.com
Facebook: https://www.facebook.com/qsofttechcenter
ดาวโหลดโปรแกรมร้านอาหาร Tasty Restaurant ทดลองใช้งานได้ที่
http://www.qsofttech.com/content/view/186/48/

#โปรแกรมร้านอาหาร #บัญชีรายรับรายจ่ายร้านอาหาร #ระบบร้านอาหาร #โปรแกรมคิดเงินร้านอาหาร #posร้านอาหาร #ระบบจัดการร้านอาหาร
#ระบบการจัดการร้านอาหาร #โปรแกรมสั่งอาหาร #บิลร้านอาหาร #ระบบบัญชีร้านอาหาร #โปรแกรมร้านอาหารทดลองฟรี #เครื่องคิดเงินร้านอาหาร #ระบบร้านกาแฟ #การบริหารร้านอาหาร #บัญชีร้านอาหาร #โปรแกรมจัดการร้านอาหาร #บริหารร้านอาหาร #ระบบสั่งอาหาร #การบริหารจัดการร้านอาหาร 
แหล่งอ้างอิง:http://suratkanthanakit.blogspot.com/2009/09/food-cost.html 

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559

โปรแกรมขายหน้าร้าน DMART

โปรแกรมขายหน้าร้าน POS คุมสต็อกสินค้า DMART

หน้าแรกโปรแกรมขายหน้าร้าน DMART
โปรแกรมบริหารธุรกิจซื้อมาขายไป-คุมสต็อก DMart (ดีมาร์ท) พัฒนาโดยคิวซอฟต์เทค (QSoftTech.com) เริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา การันตีโดยผู้ใช้งานแล้วมากมายทั่วประเทศ  สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริหารและเจ้าของกิจการร้านค้าขายปลีก ร้านค้าขายส่ง กิจการซื้อมาขายไป และคุมสต็อกทุกประเภท เช่น ร้านสะดวกซื้อ-มินิมาร์ท ร้านขายเสื้อผ้า-เครื่องสำอาง ร้านกาแฟและเบเกอรี่แบบชำระเงินที่เคาท์เตอร์ ร้านมือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า และธุรกิจอีกมากมายโดยสามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ POSต่างๆเช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด เครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์ใบเสร็จรูปแบบต่างๆ ลิ้นชักเงินสด จอแสดงราคาสินค้า เครื่องพิมพ์รายงาน เครื่องนับสต็อก เป็นต้น 
DMART ประกอบไปด้วยระบบPOS(จุดขาย) ระบบควบคุมคลังสินค้า ซึ่งสามารถเพิ่มคลังสินค้าได้หลายคลัง มีระบบเบิกจ่ายสินค้าออกจากคลัง โอนย้ายสินค้าระหว่างคลัง กำหนดระดับราคาสินค้าได้หลายระดับราคา มีระบบสมาชิกร้านค้า ระบบสะสมแต้ม/คะแนน เก็บรายชื่อผู้จำหน่าย ระบบเปิด-ปิดกะการเงิน ระบบลูกหนี้เจ้าหนี้ คุมการรับ-จ่ายเงิน มีระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล
นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกแก้ไขเอกสารต่างๆ อาทิ ใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อสินค้า ใบส่งสินค้า ใบเสร็จรับเงิน  และอื่นๆ ได้รวมทั้งสามารถปรับแต่งแก้ไขแบบฟอร์มเอกสารต่างๆให้อยู่ในรูปแบบที่ท่านต้องการ และที่สำคัญที่สุดคือ ระบบการออกรายงาน ที่มีรายงานสรุปการซื้อ-ขายประจำวัน กำไร-ขาดทุน รายงานสต็อก-คลังสินค้า โดยดูแยกตามประเภทสินค้า ตามพนักงานขาย ตามช่วงวันที่ที่ต้องการ เพื่อช่วยให้ท่านได้นำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ด้านการบริหารร้านต่อไป ซึ่งการออกรายงานได้รวดเร็ดหลากหลายเงื่อนไขนั้นถือว่าเป็นประโยชน์มากๆสำหรับธุรกิจทุกประเภท ครอบคลุมทุกความต้องการของร้านค้าคุณภาพ ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และลดปัญหาความผิดพลาดและการทุจริตจากพนักงาน
























Program Features (คุณสมบัติโดยทั่วไปของโปรแกรมธุรกิจค้าปลีก DMart ตัวนี้ เพิ่มเติมอย่างละเอียด)
  1. เก็บข้อมูลหมวดสินค้าและข้อมูลสินค้าโดยมีการกำหนดราคาขายได้หลายระดับราคา เพื่อให้สัมพันธ์กับข้อมูลลูกค้า เช่น ราคาขายปลีก, ราคาขายส่ง รายการสินค้าชุดเช่น
    จัดสินค้าเป็นกระเช้าของขวัญโดยใช้สินค้าภายในร้าน กำหนดราคาโปรโมชั่น เป็นเปอร์เซ็นต์ หรือกำหนดราคาที่ขึ้นกับจำนวนหน่วย เช่นซื้อ
    5 ชิ้นขึ้นไปราคาเท่าไร
    ช่วงเวลาโปรโมชั่น หรือสะสมแต้มสำหรับลูกค้าสมาชิกเมื่อซื้อสินค้า
     สามารถนำเข้าข้อมูลสินค้า ลูกค้า ผู้จำหน่าย ไฟล์ Excel เข้าสู่ระบบได้ไม่จำกัด 
  2. จัดสินค้าเป็นกระเช้าของขวัญโดยใช้สินค้าภายในร้าน กำหนดราคาโปรโมชั่น เป็นเปอร์เซ็นต์ หรือกำหนดราคาที่ขึ้นกับจำนวนหน่วย เช่นซื้อ 5 ชิ้นขึ้นไปราคาเท่าไร
    ช่วงเวลาโปรโมชั่น หรือสะสมแต้มสำหรับลูกค้าสมาชิกเมื่อซื้อสินค้า
  3. ช่วงเวลาโปรโมชั่น หรือสะสมแต้มสำหรับลูกค้าสมาชิกเมื่อซื้อสินค้า สามารถนำเข้าข้อมูลสินค้า ลูกค้า ผู้จำหน่าย ไฟล์ Excel เข้าสู่ระบบได้ไม่จำกัด
  4. เก็บรายละเอียดลูกค้าแบ่งประเภทลูกค้าเช่น กลุ่มขายปลีก กลุ่มขายส่ง โดยแยกระดับราคาที่แตกต่างกัน โดยให้ระดับราคาไปสัมพันธ์กับราคาที่กำหนดไว้ที่ข้อมูลสินค้า
  5. กำหนดเอกสารรับ (เช่น เอกสารซื้อ) และเอกสารจ่าย (เช่น เอกสารขาย) โดยสามารถระบุได้ว่าเอกสารใดมีผลกับยอดคงเหลือในคลังสินค้า เพิ่มหรือลด เช่น ใบสั่งซื้อ
  6. ไม่ผลกับคลัง แต่ใบรับของ มีผลทำให้ยอดสินค้าในคลังเพิ่มขึ้น 
  7. ควบคุมการขายสำหรับกิจการที่มีพนักงานหลายคน โดยใช้วิธีเปิด-ปิดกะ กำหนดรอบการทำงานได้หลายช่วงเวลา เงินทอน ควบคุมการเก็บเงินของแคชเชียร์ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบความถูกต้องพิมพ์รายงานเมื่อปิดกะได้ทันที
  8. มีระบบควบคุมลูกหนี้,เจ้าหนี้ (Option) มีเมนูแสดงถึงกำหนดชำระเงินของลูกหนี้และเจ้าหนี้
  9. สามารถคุมสต๊อกสินค้าที่มีหมายเลขซีเรียลนัมเบอร์ (Serial No.) ได้แก่ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ร้านขายโทรศัพท์มือถือ (Option) เพื่อเก็บข้อมูลในการขาย ซ่อม เคลมสินค้า
  10. มีระบบบริการการรับซ่อมสินค้า (Option)
  11. มีระบบบริหารภาษีมูลค่าเพิ่ม (Option)
  12. สามารถแก้ไขแบบฟอร์มบิลขายสด บิลขายเชื่อ และฟอร์มอื่นๆที่เป็นเอกสารรับ เอกสารจ่ายได้ตามความต้องการ
  13. สามารถกำหนดสิทธิ์การใช้งานสำหรับผู้ใช้แต่ละคนได้
  14. สามารถสำรองข้อมูลเก็บไว้ได้เพื่อความปลอดภัย และจัดระเบียบข้อมูลเพื่อการใช้งานที่รวดเร็วขึ้น
  15. มีรายงานการขายสดตามช่วงเวลาที่ต้องการแสดง
  16. มีรายงานสินค้าคงเหลือรวมทุกคลัง หรือแม้แต่ แยกคลัง
  17. มีรายงานสินค้าขายดี สินค้าขายไม่ดี
  18. สามารถกำหนดรูปแบบราคาขายได้ ไม่ว่าจะเป็น ราคาขายล่าสุด / ราคาตามระดับราคาขายที่กำหนดในข้อมูลสินค้า
  19. มีรายงานการเงิน เจ้าหนี้ ลูกหนี้
  20. มีรายงานสำหรับส่งต่อให้สำนักงานบัญชี



How to Records Data (วิธีการการบันทึกข้อมูลของโปรแกรม)
  1. ให้ทำการเตรียมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ในเมนูจัดการระบบ เมนูประวัติบุคคล และ เมนูคลังสินค้า ให้ครบถ้วน
  2. ระบุความต้องการว่าจะใช้ลิ้นชักเก็บเงิน และพิมพ์ใบรับเงินทันทีหลังรับเงินหรือไม่ได้ในเมนู จัดการระบบ กำหนดเครื่องเก็บเงิน รวมไปถึง ข้อมูลกิจการ
  3. บันทึกยอดยกมาของสินค้าเข้าไปในระบบ โดยเข้าทำงานใน เมนูงานประจำวัน ใบสำคัญรับ โดยระบุคลังสินค้า ให้ถูกต้อง
  4. สำหรับร้านที่ใช้ระบบเปิด-ปิดกะให้ทำการเปิดกะใหม่ โดยกำหนดเงินทอนให้เรียบร้อย
  5. บันทึกการขายสินค้า สามารถบันทึกได้ใน เมนูงานประจำวัน-ขายสินค้า มีทั้งแบบเงินสดและเงินเชื่อ หรือใช้ปุ่มหน้าหลักระบบขายปลีกหน้าร้าน
    (
    POS ให้ใส่จำนวนตามด้วยเครื่องหมายดอกจัน เมื่อต้องการขายมากกว่า 1 หน่วย)
  6. สิ้นรอบของแคชเชียร์ ให้บันทึกปิดกะ ปริ้นรายงานปิดกะ
  7. ทำการตรวจนับสต๊อกสินค้าเป็นประจำ หากจำนวนสินค้าไม่ตรง ให้นับสต็อกและบันทึกปรับปรุงสต็อกจากการตรวจนับ
  8. ดูยอดสินค้าคงเหลือได้ในเมนู คลังสินค้า/ ดูรายการสินค้าคงเหลือ โดยสั่งให้เครื่องคำนวณยอดใหม่เพื่อให้ยอดตรงกับความเป็นจริง
  9. พิมพ์รายงานได้โดยเลือกเงื่อนไขตามที่ต้องการได้

Usage Instructions (การเข้าใช้งานโปรแกรมร้านค้าปลีก DMart โปรแกรมนี้)
วิธีการเข้าโปรแกรมให้กรอกรายละเอียดชื่อผู้ใช้ และ รหัสผ่านเริ่มต้น                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                           ตามรายละเอียดด้านล่างดังต่อไปนี้
  • Username (ชื่อผู้ใช้งาน) : SYSTEM
  • Password (รหัสผ่าน) : 123
การป้อนข้อมูลขายสดหน้าร้าน (POS) ในกรณีที่ขายมากกว่า 1 หน่วย ให้ใส่ จำนวน ตามด้วยเครื่องหมายดอกจัน เช่น ขาย 2 หน่อย ก็ใส่ 2* แล้วตามด้วยการยิงบาร์โค้ด หรือ กดปุ่มค้นหาสินค้าที่ต้องการขาย
Remarks (หมายเหตุเพิ่มเติม)
โปรแกรมขายหน้าร้าน DMart ตัวนี้รองรับเครื่องพิมพ์ได้หลายรูปแบบ และยังสามารถต่อลิ้นชิ้นเก็บเงิน เข้ากับเครื่องพิมพ์ การสั่งให้ลิ้นชักเด้งออกตอนเก็บเงิน และพิมพ์ใบรับเงินทันทีหลังกดปุ่มรับเงิน ให้ไปกำหนดค่าที่ 
จัดการระบบ/ข้อมูลกิจการ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งท่านสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมเวอร์ชั่นอื่นๆ รวมไปถึง คู่มือการใช้โปรแกรม วีดีโอสอนใช้งาน ได้ที่เว็บไซต์ของทางผู้พัฒนา www.qsofttech.com
  

ลักษณะการใช้งานโปรแกรม DMART
1.ใช้งานเครื่องเดียว
2.ใช้งานร่วมกันแบบระบบเครือข่าย
(เชื่อมต่อด้วยสายแลน)
3.ใช้งานออนไลน์ระหว่างสาขา (dmart-online ฟังชั่นเทียบเท่ารุ่น dmart-pro)

คุณสมบัติของดีมาร์ทแต่ละรุ่น (สำหรับการใช้งานเครื่องเดียว/ระบบเครือข่าย)
·        ดีมาร์ทรุ่น POS (พีโอเอส) : ใช้เป็นจุดขาย (ขายได้อย่างเดียว) โดยต้องใช้งานร่วมกันกับดีมาร์ทรุ่นอื่นๆแบบระบบเครือข่าย(ต่อสายแลน) ไม่สามารถใช้งานเดี่ยวๆได้
·        ดีมาร์ทรุ่น Lite (ไลท์) : เป็นรุ่นเล็กสุด เหมาะสำหรับกิจการที่ต้องการคุมสต็อก และซื้อ-ขายเงินสดเท่านั้น พร้อมรายงานที่เกี่ยวข้องครบครัน
·        ดีมาร์ทรุ่น Pro (โปร) : เหมาะสำหรับกิจการที่ต้องการคุมสต็อก ซื้อ-ขายเงินสด และเงินเชื่อ การเงิน พร้อมรายงานที่เกี่ยวข้องครบครัน
·        ดีมาร์ทรุ่น Silver1 : เหมาะสำหรับกิจการที่ต้องการคุมสต็อก ซื้อ-ขายเงินสด และเงินเชื่อ การเงิน มีระบบส่งซ่อมสินค้า/เคลมสินค้า เหมาะสำหรับสินค้าที่มี Serial Number
เช่น ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ มือถือ เป็นต้น พร้อมรายงานที่เกี่ยวข้องครบครัน
·        ดีมาร์ทรุ่น Silver2 : เหมาะสำหรับกิจการที่ต้องการคุมสต็อก ซื้อ-ขายเงินสด และเงินเชื่อ การเงิน มีระบบปรับแต่งภาษี สามารถทำภาษี 2 เล่ม เพื่อทำการปรับแต่งและส่งให้สำนักงานบัญชี
ยื่นภาษีได้เลย พร้อมรายงานที่เกี่ยวข้องครบครัน
·        ดีมาร์ทรุ่น Gold (โกลด์) : เหมาะสำหรับกิจการที่ต้องการคุมสต็อก ซื้อ-ขายเงินสด และเงินเชื่อ การเงิน มีระบบปรับแต่งภาษี สามารถทำภาษี 2 เล่ม เพื่อทำการปรับแต่งและส่งให้สำนักงานบัญชี
ยื่นภาษีได้เลย มีระบบส่งซ่อมสินค้า/เคลมสินค้า เหมาะสำหรับสินค้าที่มี
Serial Number เช่น ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ มือถือ เป็นต้น พร้อมรายงานที่เกี่ยวข้องครบครัน


#ใบเสร็จรับเงิน  #บัญชีรายรับรายจ่าย #โปรแกรมขายหน้าร้าน #ใบสำคัญรับเงิน #โปรแกรมขายสินค้า
#โปรแกรมรายรับรายจ่าย #โปรแกรมบาร์โค้ด #โปรแกรมPos #รายงานภาษีขาย #บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า
#เก็บข้อมูล #โปรแกรมสำเร็จรูป #โปรแกรมเก็บข้อมูล #โปรแกรมร้านค้า #การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ
#โปรแกรมคลังสินค้า #ประเภทของสินค้า #โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป #โปรแกรมบันทึกรายรับรายจ่าย
#การบัญทึกบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม #โปรแกรมขายของหน้าร้าน #โปรแกรมหน้าร้าน #โปรแกรมขายสินค้าหน้าร้าน
#โปรแกรมใบเสร็จรับเงิน #สต็อกสินค้า #โปรแกรมพิมพ์ใบเสร็จ #โปรแกรมใบเสร็จ #ระบบขายหน้าร้าน
#โปรแกรมระบบบัญชี #บันทึกบัญชีขายสินค้า#โปรแกรมสต็อก#โปรแกรมออกใบเสร็จ #โปรแกรมร้านค้าปลีก
#โปรแกรมคิดเงินร้านค้า #โปรแกรมออกใบกำกับภาษี #โปรแกรมบันทึกข้อมูลลูกค้า #ระบบร้านค้าปลีก
#โปรแกรมซื้อขาย #โปรแกรมบริหารร้านค้า #ระบบจัดการร้านค้า#โปรแกรม point of sale
#โปรแกรมร้านขายของ #โปรแกรมสต็อกสินค้า #โปรแกรมค้าปลีก #ระบบหน้าร้าน #เช็คสต็อก
#โปรแกรมเช็คสต็อก




สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 099-4146540 , 099-4544650
Line id : pangeline,blissfulpluem
Website:www.qsofttech.com
Email: qsofttechcenter@gmail.com
Facebook: https://www.facebook.com/qsofttechcenter

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ซอฟต์แวร์ software คืออะไร ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภท

ซอฟต์แวร์ คืออะไร ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภท ?

ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่ฮาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (system Software) ทำหน้าที่ทำงานที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System) ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานย่อยๆ ทำหน้าที่ต่างๆ กันระบบปฎิบัตการที่ใช้กันกว้างขวาง คือ Windows XP ,Windows Vista

Linux

1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Language Translators) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาสิก

 โคบอล ฟอร์แทรน โปรแกรมประยุกต์ที่นำเข้ามาสู่หน่วยจำด้วยภาษาที่เขียนขึ้นเราเรียกว่า Source Program ซึ่งเป็นภาษาเครื่องเราเรียกว่า Object Program หรือ Machine Language 

โปรแกรมแปลภาษาแต่ละตัวจะทำหน้าที่ต่างกันและจะแปลได้ภาษาใดภาษหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมภาษาโคบอลก็จะแปลเฉพาะภาษาโคบอลเท่านั้น โปแกรมภาษาฟอร์แทน ก็จะแปลได้แต่ภาษาฟอร์แทนเท่านั้น

เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิต เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยงานคอมพิวเตอร์จัดทำขึ้นสำหรับการที่จะช่วยการประมวลผล ที่ทำหน้าที่ประจำโปรแกรมดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย

โปรแกรมต่าง ๆ ทำหน้าที่เฉพาะงาน เช่น

   1.1.1 Text - Editing Program เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพื่อเตรียมข้อมูลหรือโปแกรม เข้าสู่ระบบ การเพิ่มแก้ไขหรือการย้าย หรือลบทิ้ง

   1.1.2 Diagnostic Program ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อบกพร่องของโปแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

   1.1.3 Peripheral Interchange Program ช่วยจัดย้ายแฟ้มงานข้อมมูลจากสื่อชนิดหนึ่งไปยังสื่ออีกชนิดหนึ่ง เช่น ย้ายข้อมูลในเทปแม่เหล็กไปเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก VCD,DVD และอื่นๆ

   1.1.4.Sort/Merge Program ช่วยงานจัดลำดับข้อมูลตามลำดับอักษรหรือลำดับเลขและช่วยงานรวมแฟ้มข้อมูลต่างๆ เข้ามาเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกัน

    ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่นภาษาเบสิก โคบอล ฟอร์แทรน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลตามคาสมต้องการโปแกรมเหล่านี้ผู้ใช้เขียนเอง สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง ในขณะเดียวกัน

มีซอฟแวร์จัดทำขึ้นจำหน่าย  เรียกว่า  โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program) ผู้ใช้งานสามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่นโปแกรม CDS/ISIS 


 ซึ่งโปรแกรมสำหรับจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ  โปแกรม SAS,ABSTAT,SPSS,Microsoft Office ปัจจุบันมีโปรแกรมสำเร็จรูป จำนวนมากมีให้ดาวโหลด ไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ทำให้การใช้งานทำได้กว้างขวางขึ้น การเรียนรู้ง่ายและสะดวก


ในเว็บไซต์ www.qsofttech.com ก็มีโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมน่าใช้ต่างๆมากมายให้ดาวโหลด มีทั้งดาวโหลดฟรี และดาวโหลดทดลองใช้งานฟรี เช่น

- Dmart โปรแกรมขายหน้าร้าน โปรแกรมขายสินค้า โปรแกรม pos ซึ่งเป็นโปรแกรม บัญชีรายรับรายจ่าย ทำเอกสารใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จรับเงิน โปรแกรมสต็อก สินค้า มีรายงานแบบฟอร์มต่างๆ ครบครัน
ดาวโหลดได้ที่
http://www.qsofttech.com/content/view/181/48/


- Tasty Restaurant โปรแกรมร้านอาหาร ระบบร้านอาหาร สำหรับร้านอาหารที่ต้องการระบบจัดการร้านอาหารให้ยอดเยี่ยม สามารถทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านอาหาร มีระบบ pos ร้านอาหาร สำหรับคิดเงินร้านอาหาร ออกบิลร้านอาหาร มีรายงานแบบฟอร์มต่างๆ ครบครัน

ดาวโหลดได้ที่
http://www.qsofttech.com/content/view/186/48/

-Drental โปรแกรมหอพัก โปรแกรมเช่าแผงตลาด apartment โปรแกรมเก็บค่าเช่า
สำหรับกิจการที่ต้องการจัดการทรัพย์สินให้เช่าต่างๆ ออกใบเสร็จรับเงิน มีรายงานและแบบฟอร์มครบครัน
ดาวโหลดได้ที่
http://www.qsofttech.com/content/view/183/48/

 -Richest โปรแกรมคำนวณหวย สำหรับเจ้ามือหวย สามารถตั้งยอดรับ คีย์ยอดรับได้หลายรูปแบบ ตีเกินหวย มีรายงานและแบบฟอร์มครบครัน

ดาวโหลดได้ที่
http://www.qsofttech.com/content/view/174/48/

และมีโปรแกรมสำเร็จรูปอื่นๆอีกมากมายสามารถติดตามได้ใน www.qsofttech.com   


 ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม

  1.ภาษาเครื่อง ประกอบด้วยกลุ่มเลขฐานสอง ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถรับรู้และนำไปปฎิบัติได้ทันที  ในระยะเริ่มแรกผู้ใช้จะต้องเรียนรู้ภาษาเครื่อง จึงจะสามารถเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ และการใช้ภาษา

เครื่องจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึง จึงนับว่าเป็นความยากลำบากอย่างมากและไม่สะดวกที่จะใช้งาน จึงมีผู้พัฒนาภาษาให้มีความสะดวกมากขึ้น

  2. ภาษาระดับต่ำ เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง แต่ทำให้กระชับกว่า โดยผู้ใช้ตัวอักษรแทนเลขฐาน สอง ทำให้ผู้เขียนชุดคำสั่งสะดวกมากขึ้น เมื่อคอมพิวเตอร์รับคำสั่งภาษาแอสแซบบลีก็จะแปลให้เป็นภาษาที่เรียกว่า แอสแซมเบอล (Assemlier)

เพื่อแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องแม้ว่าผู้ใช้งานจะเข้าใจหรือไม่ก็ตามกับภาษาเครื่อง แต่ยังคงมีความไม่สะดวกเพราะพัฒนามาจากภาษาเครื่อง

 3. ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ออกแบบให้ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์จึงทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจง่ายกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ 2 กลุ่ม ที่กล่าวมา โดยไม่คำนึงถึงรายละเอียดในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่มากนักไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐาน

เกี่ยวกับภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงนี้สามารถนำไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในระบบอื่นได้  นับว่าเป็นภาษาที่สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้น แต่ละภาษามีจุดเด่นต่างกัน ต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น

 - FORTRAN เป็นภาษาที่มีความสามารถในการคำนาณสูงมาก เหมาะสำหรับงานวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม

 - COBOL เหมาพสำหรับการใช้งานทางด้สนธุรกิจการบัญชีการธนาคาร ความสามารถในการจัดการกับแฟ้มข้อมูลจำนวณมาก

 - BASIC เป็นภาษษคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นให้มีลักษณธที่ใช้งานง่าย ศึกษาได้ง่ายผู้ใช้สามารถตอบกับเครื่องในโปรแกรมและเหมาะแก่แารใช้งานทางธุรกิจ วิทยาศาสตร์ แต่ภาษาเบสิกยังจัดได้ว่าใหช้งานได้ไม่ดีนัก ส่วนใหญ่ใช้ในไมดครคอมพิวเตอร์

 - PACAL เป็นภาษาที่พัฒนามาจากโปรแกรมโครงสร้าง แต่จัดอยู่นะดับปลานกลางเพราะ การจัดการข้อมลูไม่ได้มาก

 นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีภาษาระดับสูงอีกเช่น ALGOL,ADA,ALP,PROLOG,C เป็นต้น

 โครงสร้างข้อมูล (DATA Structure) ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลมีรายละเอียดดังนี้

 1.บิท(Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์ ย่อมาจาก Binary digit หมายถึงเลขฐานสองที่มีค่า 0หรือ 1ดังนั้นในแต่ละบิทจึงแทนค่าได้เพียงสองสภาวะ หรือถ้าแทนตัวอักษรจะได้เพียง สองตัวอักษรเท่านั้น

เช่น 0=a,1=b

 2.ไบต์ (Byte)หมายถึง หน่วยข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่ใช้แทนตัวอักษร (Character) หนึ่งตัวหรือหนึ่งไบต์เช่น A=0110001,B=011000010

 ไบต์ เป็นหน่วยข้อมมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าบิทและใช้บอกขนาดความจุในการเก็บข้อมมูลในคอมพิวเตอร์โดยมีหน่วยเรียดว่า ดังนี้

 8 Bit      =    1 Byte

 1,024 Byte     =    1 Kilobyte

 1,024 Kilobyte =    1 Megabyte

 1,024 Megabyte =    1 Gigabyte

 - ตัวอักษร (Charater)หมายถึงสัญลักษณ์ ที่ใช้ในการประเมินผล เช่น 0-9,a-z'ก-ฮ และเครื่องหมายอื่นๆ ซึ่งจะมีความหมายเช่นเดียวกับไบต์

 - คำ(Word)หมายถึง กลุ่มของไบต์ หรือหน่วยหลักของเขตข้อมูลที่ใช้ในหน่วยความจำหลักของข้อมูล เช่น24 Bits/word หรือ32 Bist/word

 - เขตข้อมมูล (Field)หมายถึง กลุ่มของไบต์หรือว่ากลุ่มตัวอักษร ที่มีขอบเขตเป็นพื้นที่เฉพาะอันใดอันหนึ่ง ในการบันทึกข้อมูลในแต่ละรายการ เช่น เขตข้อมูลในแต่ล่ะรายการ เช่น เขตข้อมูลของชื่อและนามสกุลหรือประวัติ

 - ระเบียบ (Recrod)หมายถึง ข้อมูลหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของแฟ้มข้อมมูลหรือกลุ่มของข้อมมูลชุดหนึ่ง หรือกลุ่มของเขตข้อมมูลที่ประกอบขึ้นเป็น Recrord

- แฟ้ม (File)หมายถึงชุดข้อมมูล ซึ่งประกอบไปด้วยไปด้วยกลุ่มของระเบียบที่มีวัตถุประสงค์  ในการปะเมินผลร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมมูลของนักศึกษาก็จะประกอบไปด้วยระเบียบของนักศึกษาทุกๆคน

- Vector หมายถึง Field ที่ตรงกันในแต่ล่ะ Recrord

- Array หมายถึง กลุ่มของ Vector ทั้งหมดใน Recrord

 1.3โปรแกรมอำนวจจความสะดวก (Utility Program)

อ้งอิงจาก https://www.qsofttech.com